เมนู

5. สมนันตรปัจจัย


[2213]1. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย เหมือนกับ อนันตรปัจจัย.

6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[2214]1. อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยและอนิทัสสน-
สัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย พึงกระทำให้ดี เหมือน
กับ ปฏิจจวาระ.

ในอัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิจจวาระ.
ในนิสสยปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาระ.

อุปนิสสยปัจจัย


[2215] 1. สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลปรารถนาวรรณสมบัติ ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม
ฯลฯ.
วรรณสมบัติ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความ
ปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[2216] 2. อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลปรารถนาจักษุสมบัติ ฯลฯ กายสมบัติ ฯลฯ สัททสมบัติ ฯลฯ
ปรารถนาโผฏฐัพพสมบัติแล้ว ย่อมให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ.
บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ
อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ
ฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์.
จักษุสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพสมบัติ ฯลฯ อุตุ ฯลฯ เสนาสนะ เป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่
ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[2217] 3. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม
ฯลฯ ฌาน ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.

บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย
ทุกข์ทางกาย ฯลฯ โภชนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม ฯลฯ ศรัทธา ปัญญา ราคะ
ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ โภชนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
แก่ปัญญา ฯลฯ แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[2218]1. สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
[2209] 2. อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
พิจารณาจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ เสียง ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.